เมนู

อรรถกถาสังฆสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสังฆสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โธวติ แปลว่า ล้าง. บทว่า สนฺโธวติ แปลว่า ล้างด้วยดี
คือ ล้างแล้วล้างอีก. บทว่า นิทฺโธวติ แปลว่า ล้างโดยไม่มีมลทินเหลือ.
บทว่า อนิทฺธนฺตํ คือ ยังไม่ได้ถลุง. บทว่า อนินฺนีตกาสาวํ คือ ยัง
ไม่ได้ไล่ขี้. บทว่า ปภงฺคุ ได้แก่ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ. เว้นทองคำ
ที่หลอมแล้ว (ที่เหลือ) เพียงเอากำปั้นทุบก็แตก. บทว่า ปฏฺฏกาย ได้แก่
เพื่อต้องการให้เป็นแผ่นทองคำ. บทว่า คีเวยฺยเก ได้แก่ เครื่องประดับคอ.
บทว่า อธิจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อนุยุตฺ
ตสฺส
ได้แก่ เจริญ. บทว่า สเจตโส ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยจิต.
บทว่า ทพฺพชาติโก ได้แก่ เป็นบัณฑิตโดยกำเนิด. ในวิตก
ทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นมีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภกามเกิดขึ้น ชื่อว่า กาม-
วิตก. วิตกที่สัมปยุตด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาปาทวิตก ที่สัมปยุตด้วยวิหิงสา
ชื่อว่า วิหิงสาวิตก.
ในวิตกทั้งหลายมีญาติวิตกเป็นต้น มีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภญาติ
เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ญาติของเราทั้งหลายจำนวนมากมีบุญ ชื่อว่า ญาติ
วิตก
. วิตกที่อาศัยเรือนซึ่งปรารภชนบทเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ชนบทโน้น
ปลอดภัย หาภิกษาได้ง่าย ชื่อว่า ชนปทวิตก. บทว่า น ปณีโต คือ
ไม่เอิบอิ่ม. บทว่า น ปฏิปฺปสฺสทฺธลทฺโธ คือ ไม่ได้ความสงบระงับกิเลส.
บทว่า น เอโกทิภาวาธิคโต คือ ไม่ถึงความเป็นสมาธิ. บทว่า สสํขาร-